วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผักการห่อหอม (Head lettuce)

ผักการห่อหอม (Head lettuce)



ผักกาดหอม


วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Lactuca sativa L.


ผักกาดหอมห่อ (Head lettuce) เป็นผักที่มีสีเขียวค่อนข้างอ่อน ใบห่อเป็นหัว เนื้อใบหนากรอบเป็นแผ่นคลื่นผักในตระกูลนี้มีปริมาณวิตามินซี และในตัวแคโรทีนพอประมาณแต่ อะมีโฟเลต ค่อนข้างสูง ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ผักกาดหอมห่อนิยมบริโภคสดมีความกรอบและหวาน เป็นเครื่องเคียงของเนื้อย่างต่าง ๆ ลาบ น้ำพริกหรือผัดไทย


ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (กองบรรณาธิการฐานเกษตรกรรม, 2541)


ราก (Root) เป็นระบบรากแก้ว สามารถหยั่งลึกประมาณ 6 ฟุต เมื่อระยะแทงช่อดอก รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดรากฝอย เพื่อทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารมาเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้น


ลำต้น (Stem) มีลักษณะตั้งตรง ข้อสั้น หรือถี่ เนื้อแน่น


ใบ (Leaves) มีหลายลักษณะ รูปร่าง และสีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพันธุ์ เช่น ใบกลม ใบรี ใบมีหยัก บางพันธุ์อาจมีใบหนาแข็งและบางพันธุ์อาจจะมีใบห่อปลี


ดอก (Flower) ช่อดอก มีลักษณะแบบ panicle สูง 2 - 4 ฟุต อาจจะมีมากกว่า 15 - 25 ดอกต่อช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเหลืองหรือขาวปนเหลือง


เมล็ด (Seed) จะมีขนอ่อนอยู่ด้วย สีของเมล็ดมีความแตกต่างกัน (Vincen and Yamaguchi ,1997)


การปลูกและการดูแลรักษา

การปลูกสลัดปลีนิยมปลูกโดยวิธีการย้ายกล้า และเพาะในกะบะเพาะซึ่งจะให้ต้นกล้าที่สมบูรณ์ แข็งแรง เกิดความเสียน้อย เมื่อเวลาปลูก ยังประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้มากกว่าถึง 1 ใน 4 ส่วน โดยวิธีการหว่าน สามารถย้ายปลูกเมื่อมีใบจริง 2 – 3 จริง หรืออายุ 25 – 30 วัน (สุนทร ,2540)


สำหรับการเตรียมพื้นที่ปลูก ควรไถพลิกดินให้ลึกประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร แล้วตากดินทิ้งไว้ 7 – 10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 2,000 – 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกเคล้ากับดินให้ทั่วและสม่ำเสมอ ขนาดของแปลงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกในการจัดการ (สุรชัย ,2527)


ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่อคุณภาพและขนาดของสลัดปลีให้มีลักษณะตามที่ตลาดต้องการก็คือระยะปลูกสำหรับระยะปลูกที่เหมาะสมที่สุดนั้นได้มีการทดลองและแนะนำให้ใช้แตกต่างกัน ดังนี้


เมืองทองและสุรีรัตน์ (2532) กล่าวว่าในการกำหนดจำนวนต้นต่อพื้นที่หรือระยะปลูกที่กำหนดความหนาแน่นมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต รวมทั้งระยะปลูกที่เหมาะสมที่พืชต้องการใช้เพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งตรงกับ(นิพนธ์ ,2543) กล่าวว่าระยะปลูกจะมีอิทธิพลต่อผลผลิตและคุณภาพของสลัดปลีและแนะนำว่าควรใช้ระยะปลูก 20-30 x 30 เซนติเมตร


สุนทร (2540) แนะนำให้ใช้ระยะที่มีความห่างระหว่างต้นและแถวเท่ากับ 40 x 40 เซนติเมตร เป็นระยะที่สลัดปลีให้คุณภาพดีและมีขนาดหัวใหญ่ที่สุด


จากรายงานของสุรชัย (2527) ทำการศึกษาอิทธิพลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตของสลัดพบว่าระยะปลูกที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดคือ 40 x 30 เซนติเมตร


การปฏิบัติดูแลรักษา

การให้น้ำ สลัดปลีเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยระยะแรกหลังย้ายปลูก ควรให้น้ำทุกวันเช้าและเย็น แต่ไม่ควรรดจนแฉะเกินไป ส่วนระยะที่เริ่มห่อหัว ควรให้น้ำโดยรดรอบ ๆ โคนต้น เพราะน้ำจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเน่าเละกับหัวได้ (สุนทร, 2540) และการให้น้ำในระยะหลังนี้ควรพิจารณาจากสภาพความชื้นของดินเป็นหลัก


การใส่ปุ๋ย เนื่องจากสลัดปลีเป็นพืชอายุสั้นจึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีธาตุอาหารอย่างเพียงพอในบริเวณราก ควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 2 – 3 ตันต่อไร่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มค่าความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน ส่วนปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรพิจารณาจากพืชที่ต้องการและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยยูเรียใส่เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และแม้ว่าสลัดปลีเป็นพืชกินใบที่ธาตุไนโตรเจนมีความสำคัญมาก แต่ไม่ควรใส่มากเกินความจำเป็น ( นิพนธ์ ,2543) กล่าวว่า การใส่ธาตุไนโตรเจนมากเกินไป ในสภาพอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดอาการปลายใบไหม้ และใบสลัดไม่ห่อหัวหรือห่อหัวหลวม ๆ ที่อายุ 15 และ 30 หลังย้ายปลูก ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 หรือ 12 – 24 – 1 อัตรา 30 – 50 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้หัวแน่นและมีรสชาดดี


การเก็บเกี่ยว ขึ้นอยู่กับพันธุ์และฤดูปลูก อายุการเก็บเกี่ยวของสลัดใบประมาณ 30 – 50 วัน หรือเมื่อต้นเจริญเต็มที่ ส่วนสลัดปลีเก็บเกี่ยวที่อายุ 50 – 60 วัน หลังย้ายปลูกหรือเลือกที่หัวเข้าปลีแน่นควรเก็บขณะที่ยังอ่อนหากเก็บขณะต้นแก่จะทำให้เสียคุณภาพและมีรสขม วิธีการคัดใช้มีดคม ๆ ตัด ที่โคนต้น หากเป็นสลัดใบควรเอาใบเสียทิ้งไป ส่วนสลัดปลีตัดใบรอบนอกที่สกปรกเกิดความเสียหายขณะขนส่งได้ ควรล้างทำความสะอาดและความร้อนแฝงเพื่อรักษาคุณภาพขณะเก็บรักษาและขนส่ง การบรรจุใส่เข่งหรือกล่องกระดาษที่อากาศถ่ายเทได้และทนต่อการขนส่ง


โรคและแมลงที่สำคัญ

โรคเน่าและ (Bacterial soft rot) สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia sp. เป็นโรคที่สำคัญมากทั้งการระบาดและความเสียทั้งในแปลงปลูก การเก็บรักษาและขนส่งลักษณะอาการ เริ่มจากเป็นรอยช้ำเล็ก ๆ แล้วเป็นจุดฉ่ำน้ำ หากสภาพแวดล้อมเหมาะสมขยายลึกลงไปในเนื้อเยื่อและกระจายไปบริเวณต้นรอบ ๆ เนื้อเยื่อจะเน่ายุบต้นลงอย่างรวดเร็วแผลเละเป็นเมือกเยิ้มส่งกลิ่นเหม็นแรง ผักจะเน่ายุบตายไปทั้งต้นขณะที่ใบยังเขียวอยู่ เมื่อจับต้นจะหลุดติดมือขึ้นมากได้ง่าย ซึ่งอาการส่วนมากจะเกิดที่โคนต้นระดับดิน
การป้องกันกำจัด หากพืชที่ปลูกเริ่มแสดงอาการให้เห็นเป็นบางต้น ควรถอนออกไปเผาทิ้งไกล ๆ หรือฝังดินกลบลึก หากระบาดมากใช้สารเคมีพวกทองแดง หรือจุนสี (CuSO4) เช่น คูปราวิทและบอร์โดมิกเจอร์ ฉีดพ่น 3 – 5 วันต่อครั้ง ตามอัตราส่วนที่กำหนด (ศักดิ์, 2537)


โรคใบจุดของผักกาดหอม (Leaf spot) สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Cercospora longissima เกิดเป็นจุดเล็กสีน้ำตาลขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม หากแผลลุกลามรวมกันมาก ๆ จะเกิดอาการใบไหม้ทั้งใบ
การป้องกันกำจัด เก็บใบที่เป็นโรคไปทิ้งไกล ๆ หรือแยกทำลาย หากจะใช้สารเคมี เช่น เบนโนมิล 50% 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้แมนโคเซีย 80% 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 – 7 วัน(ศักดิ์, 2537)


โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เชื้อสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Peronspona parasitica เกิดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ลักษณะอาการเริ่มแรกเกิดที่ใต้ใบ โดยเห็นเป็นกลุ่มผงสีขาวหรือเทา ซึ่งเป็นสปอร์และเส้นใบของเชื้อสาเหตุต่อมาจะเกิดแผลสีเหลืองแล้วเปรียบเป็นสีน้ำตาล เนื่องจากมีเซลล์ตายเกิดขึ้น ลักษณะแผลเป็นรูปเหลี่ยม กรณีเป็นรุนแรงใบจะเหลืองทั้งใบและแห้งตาย
การป้องกันกำจัด เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ปลอดเชื้อ ปลูกพืชหมุนเวียนไม่ควรให้ระยะห่างของต้นแน่นเกินไป หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ควรใช้แมนเน็บหรือแคปแทน 50% 30 – 35 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน(ศักดิ์, 2537)

หนอนคืบกะหล่ำ (Cabbage looper) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Trichoplusia ni ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลาง ตัวหนอนสีเขียวใสขนาดเล็กลักษณะการทำลายหนอนกัดกินเนื้อใบจนขาดและเหลือเส้นใบไว้
การป้องกันกำจัด การใช้สารเคมี การใช้ขณะหนอนมีขนาดเล็กจะได้ผลดี เช่น ฟอสดริล หรือแลนเนท 20 – 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 – 7 วัน(ศักดิ์, 2537



0 ความคิดเห็น:


Blogger Templates by Isnaini Dot Com. Powered by Blogger and Supported by Urban Designs