วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผักปู่ย่า (Caesalpinia mimosoides Lamk.)


ผักปู่ย่า (Caesalpinia mimosoides Lamk.)





ชื่ออื่น ช้าเลือด ผักปู่ย่า หนามปู่ย่า (เหนือ) ผักขะยา (นครพนม ) ผักคายา (เลย) ผักกาดย่า (ปราจีนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เลื้อยลำต้นตั้งตรงหรือพันกับไม้อื่นสูงกว่า 1 เมตร ลำต้นมีหนามแหลม จำนวนมากทั้งลำต้นและก้านใบ ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบยาว 25-30 ซม.ใบมี 10-30 คู่ และแตกออกไปอีก 10-20 ซม.ก้านใบสีแดง มีหนามแหลมตามกิ่งก้านทั่วไป ใบลักษณะกลมมนขนาดกว้างประมาณ 4 มม.ใบสามารถหุบเข้าหากันได้เมื่อสัมผัส
ดอก เป็นช่อยาว 20-40 ซม. ดอกสีเหลืองบานในช่วงฤดูหนาว ขนาดดอกยาว1.2-2 ซม. กว้าง 1-1.8 ซม.
ผล เป็นฝัก บวมพอง มีหนามเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด

การขยายพันธุ์ เมล็ด
ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ต้นฝน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต บริเวณป่าละเมาะ ป่าเต็งรังป่าผสมผลัดใบ
และบริเวณชายป่า

การใช้ประโยชน์
ทางอาหาร ยอดรับประทานสดกับซุปหน่อไม้
ทางยา บำรุงเลือด แก้วิงเวียน
การใช้สอยอื่น ปลูกเป็นแนวรั้ว
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฝน

0 ความคิดเห็น:


Blogger Templates by Isnaini Dot Com. Powered by Blogger and Supported by Urban Designs