วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

พริกหวาน


ผริกหวาน






พริกหวาน


ตระกูล : Solanaceae


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum annuum


เช่นเดียวกับมะเขือเทศ ยาสูบ และมันฝรั่ง เป็นพืชข้ามปี แต่นิยมปลูกฤดูเดียว ในระยะแรกพืชจะ เจริญเป็นลำต้นเดียว หลังจากติดดอกแรกตรงยอดของลำต้นเดียว จะแตกกิ่งแขนงในแนว ตั้งอีกสองกิ่ง เมื่อกิ่งแขนงมีดอกเจริญที่ปลายกิ่ง จะเกิดกิ่งแขนงเจริญเป็นสองกิ่ง ทำให้จำนวนกิ่ง เพิ่มขึ้น ผลผลิตจะขึ้นอยู่กับจำนวนกิ่ง และจำนวนผลต่อต้น โดยทั่วไปต้นจะสูง 0.5-1.5 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เจริญสลับกัน ลักษณะดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ สามารถเจริญได้ทั้งในสภาพ ช่วงแสงสั้น หรือช่วงแสงยาว เป็นพืชผสมตัวเอง แต่อาจมีโอกาสผสมข้ามโดยธรรมชาติสูง


สภาพแวดล้อมการปลูก


พริกหวาน ชอบสภาพที่มีความชื้นต่ำ จะทำให้อัตราการติดผลลดลง อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 20-25′C มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ใสสภาพอุณหภูมิต่ำกว่า 18′C หรือสูงกว่า 32′C จะจำกัดการผสมเกสร อัตราการติดผลต่ำ พริกหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี และมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8


การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร


พริกหวาน มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนา มีหลายสีทั้งเขียว แดง เหลือง ส้ม และสีช็อคโกแลค มีรสชาติหวาน ไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัด หรือนำมาผัดกับผักชนิดต่างๆ ให้สีสันน่ารับประทาน มีคุณค่าทางวิตามิน A, B1, B2 และ C มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง


การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต


การเตรียมกล้า ทำการยกแปลงขนาด 1 ม. ย่อยดินให้ละเอียด แปลงห่างกัน 70 ซม. ร่องลึกประมาณ 10 ซม. ทำขวางแปลงความห่างระหว่างร่อง 10 ซม. รองพื้นด้วยไตรโคเดอร์ม่า หว่านเมล็ดแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือคลุมด้วยตาข่ายพลาสติก หลังจาก 7-10 วัน ย้ายกล้าลงในหลุม


การเตรียมดิน ขุดดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดิน แล้วใส่ปูนขาวคลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยคอก และปุ๋ยสูตร 0-4-0 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใส่โดโลไมด์อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.


การปลูก ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมคลุกเคล้ากัน ควรใส่โดโลไมด์ อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.


การเก็บเกี่ยว พันธุ์สีเขียวเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตผิวเรียบ และแห้ง ใช้กรรไกรตัดตรงขั้ว พันธุ์สีแดงและเหลือง เก็บเกี่ยววิธีเดียวกับพันธุ์สีเขียว แต่เก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มมีสีได้มากกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์


โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต


ระยะกล้า 18-21 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคไวรัส, โรครากปม,


ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,


ระยะเจริญเติบโต 50-60 วัน แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,



ระยะเก็บเกี่ยว 9-100 วัน แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว, แมลงวันแตง,



0 ความคิดเห็น:


Blogger Templates by Isnaini Dot Com. Powered by Blogger and Supported by Urban Designs